การออกแบบ ของ LK (ยานอวกาศ)

ยาน LK แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ใช้ลงดวงจันทร์ (lunar landing aggregate) และส่วนที่ใช้ขึ้นจากผิวดวงจันทร์ (lunar ascent vehicle)

ในส่วนของระบบขับเคลื่อน, ทั้งการลงจอดและการขึ้นจากผิวดวงจันทร์ต่างใช้ระบบขับดัน บล็อก E ส่วนของแผงควบคุมนั้นใช้เวอร์ชันที่มีชื่อเรียกว่า "Luch"

ใน 4 ภารกิจที่ใช้ยาน LK นั้นได้ใช้ T2K ซึ่งเป็นรุ่นหนึ่งของยาน LK ซึ่งเกือบจะเหมือนกับยาน LK รุ่นมาตรฐานเพียงแต่ไม่มีขาตั้งลงจอด

ระบบ

ประกอบด้วยระบบดังนี้

  • ส่วนควบคุมความดันสำหรับนักบินอวกาศ
  • ระบบควบคุมการบิน
  • ระบบพยุงชีพ
  • ระบบควบคุมอุณหภูมิ
  • ระบบควบคุมความสูง
  • ส่วนลงจอดดวงจันทร์ หรือ LPU ซึ่งมีขาตั้งสำหรับลงจอด 4 อัน
  • ระบบพลังงาน ซึ่งประกอบด้วยแบตเตอรี่เคมีที่ติดอยู่กับ LPU[2]

อุปกรณ์

ประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้

  • เรดาห์สำหรับลงจอด Planeta
  • ระบบควบคุมการบินในส่วนควบคุมความดัน
  • เสาอากาศสื่อสารแบบพับเก็บได้ ได้แก่ เสาอากาศกำลังต่ำ เสาอากาศกำลังสูง และเสาอากาศรอบทิศทาง
  • แบตเตอรี่ 3 ก้อน
  • ส่วนบรรจุน้ำ 4 ส่วน สำหรับใช้ในส่วนจัดการการระเหย
  • อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์น้ำหนัก 105 กิโลกรัม ซึ่งประกอบด้วยแขนกลน้ำหนัก 59 กิโลกรัม และส่วานขุดเจาะที่มีอายุการใช้งานประมาณ 60 นาที[2]

เครื่องยนต์

บล็อก E

ระบบขับดัน บล็อก E ถูกพัฒนาขึ้นที่ OKB-586 ในเมืองดนีโปรเปตรอฟสค์ เพื่อถูกใช้สำหรับเป็นเครื่องยนต์ลงจอดและบินขึ้นจากดวงจันทร์ บล็อก E เป็นหนึ่งในระบบที่มีความสำคัญมาก, ไม่เหมือนกับขั้นตอนอื่นของการเดินทางไปยังดวงจันทร์ ความผิดพลาดของบล็อก E ในขณะที่กำลังจะบินขึ้นจากพื้นผิวดวงจันทร์นั้นก่อให้เกิดผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว นั่นคือการสูญเสียนักบินอวกาศ

เพื่อที่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือของบล็อก E เครื่องยนต์ 11D411 จึงมีเครื่องยนต์สำรอง 11D412 อีก 1 เครื่อง โดยเครื่องยนต์ทั้งคู่ใช้ส่วนผสมระหว่าง ไดเมทิลไฮดราซีน กับไนโตรเจน เตตรอกไซด์ เป็นเชื้อเพลิง ในระหว่างการลงจอดและการบินขึ้น เครื่องยนต์ทั้งคู่จะถูกจุด และในกรณีที่เครื่องยนต์ทั้งคู่ทำงานเท่านั้น เครื่องยนต์เครื่องหนึ่งจึงจะดับลง [2]

ประตู Clamshell จะปิดป้องกันเครื่องยนต์หลังจากลงจอดเพื่อเป็นฉนวนและเพื่อป้องกันเครื่องยนต์ทั้งคู่จากดินบนดวงจันทร์[3]